ส่วนของเจ้าของ คืออะไร ?

Last updated: 20 ต.ค. 2563  |  44619 จำนวนผู้เข้าชม  | 

ส่วนของเจ้าของ คืออะไร ?

ส่วนของเจ้าของ คืออะไร
       สำหรับความหมาย ส่วนของเจ้าของ คือ ลักษณะทรัพย์สินสุทธิที่เป็นส่วนที่เป็นของเจ้าของ หรือผู้ถือหุ้นของบริษัทนั้นจริงๆ เพราะคือสินทรัพย์ของบริษัททั้งหมดที่หักด้วยหนี้ของบริษัทแล้วเรียกส่วนของเจ้าของได้อีกอย่างว่า “ส่วนทุน” ในส่วนของบัญชีส่วนของเจ้าของจะประกอบด้วยรายการหลักๆ 4 รายการที่ผู้ประกอบการควรรู้จัก 

ส่วนของเจ้าของ มีอะไรบ้าง
โดยหลัก ๆ แล้ว ส่วนของเจ้าของจะแบ่งออกเป็น 4 ประเภท ได้แก่

1. ทุนเรือนหุ้น (Shared Capital)
คือมูลค่าหุ้นของกิจการ เป็นรายการในบัญชีส่วนของเจ้าของพื้นฐานที่สุด มีค่าเท่ากับหุ้นที่ชำระแล้วทั้งหมด ซึ่งจะแสดงมูลค่าของหุ้นในราคาพาร์ หรือ Par Value 

2. ส่วนเกินมูลค่าหุ้น (Shares premium)
คือเมื่อเวลาผ่านไป มูลค่าของหุ้นอาจเปลี่ยนแปลงไปจากราคาพาร์ของหุ้น เช่น บริษัทขายหุ้นเพิ่มทุนได้มากกว่าราคาพาร์ ทำให้เกิดส่วนต่างหรือ ส่วนเกินมูลค่าหุ้นนั่นเอง โดยส่วนเกินมูลค่าหุ้น ก็มาจาก มูลค่าหุ้นรวมในปัจจุบัน หักลบด้วย ทุนเรือนหุ้น ซึ่งผลลัพธ์สามารถเป็นได้ทั้งบวกและลบ หรือ ผลลัพธ์เป็นบวก คือ มูลค่าหุ้นเพิ่มสูงกว่าทุนเรือนหุ้น หรือติดลบ ในกรณีหุ้นมีมูลค่าที่ลดลง  

3. กำไรสะสม หรือขาดทุนสะสม (Earned Surplus/ Loss Surplus)
หมายถึงเงินส่วนที่บริษัทมีเหลือจาก การจ่ายเงินปันผลให้กับผู้ถือหุ้น เรียกเงินส่วนนี้ว่า “กำไรสะสม” กรณีที่บริษัทเกิดการขาดทุน หรือกำไรสะสมเป็นลบ จะเรียกว่า ขาดทุนสะสม (Loss Suplus) กำไรสะสมของกิจการจะมีมากหรือน้อย ก็ขึ้นอยู่กับนโยบายการจ่ายเงินปันผลของกิจการ นั่นเอง 

4. ส่วนต่างที่เกิดจากการปรับมูลค่าสินทรัพย์
คือปัจจุบัน มาตรฐานบัญชีใหม่ สามารถให้ผู้ประกอบการปรับมูลค่าสินทรัพย์ให้สะท้อนมูลค่าความเป็นจริงหรือมูลค่าตลาดในปัจจุบันได้ ดังนั้นในกรณีที่มีการปรับมูลค่าทรัพย์สินเพิ่มขึ้น หรือลดลง มูลค่าที่ปรับจะถูกบันทึกไว้ในส่วนของบัญชีส่วนของเจ้าของ เพื่อให้งบดุลยังสมดุลตามสมการ สินทรัพย์ = หนี้สิน + ทุน   

มูลค่าและองค์ประกอบของส่วนของเจ้าของ แน่นอนว่าต้องมีความแตกต่างกันออกไปตามแต่หน่วยงานและบริษัท โดยมาจากความต่างของลักษณะของผู้เป็นเจ้าของธุรกิจด้วยส่วนหนึ่ง เช่น กิจการที่มีเจ้าของเพียงคนเดียว กิจการที่มีลักษณะเป็น ห้างหุ้นส่วน หรือกิจการที่มีลักษณะเป็นบริษัท 

ส่วนของเจ้าของเป็นองค์ประกอบสำคัญอย่างหนึ่งของกิจการ และยังเป็นส่วนที่ใช้วิเคราะห์เกี่ยวกับบริษัทให้กับทั้งผู้ประกอบการเอง และนักลงทุนที่สนใจลงทุนในบริษัท ยกตัวอย่างเช่น การวิเคราะห์อัตราส่วนหนี้สินต่อส่วนของเจ้าของ ที่เป็นอัตราส่วนที่ใช้บ่งบอกว่ากิจการมีหนี้สินทั้งหมดเป็นกี่เท่าของส่วนของเจ้าของ โดยอัตราส่วนนี้สามารถช่วยบอกความเสี่ยงทางการเงินของกิจการได้ โดยวิธีการคำนวนก็คือ

อัตราส่วนหนี้สินต่อส่วนของเจ้าของ  = หนี้สินรวม/ส่วนของผู้ถือหุ้น

ยิ่งผลลัพธ์มีค่าสูง หมายความว่ากิจการยิ่งมีความเสี่ยงมาก เนื่องจากมีอัตราหนี้สินรวมหรือมีการกู้ยืมเงินมาลงทุนในกิจการมากกว่าส่วนที่เป็นของเจ้าของมากเกินไปนั่นเอง ซึ่งการกู้ยืมที่มากกว่าส่วนของเจ้าของมากเกินไปอาจส่งผลให้ในอนาคตกิจการไม่สามารถกู้ยืมเงินเพิ่มได้อีกเนื่องจากเครดิตในการกู้ยืมอาจเหลือน้อย ในขณะที่การมีส่วนของเจ้าของที่มากกว่า หรือมีอัตราส่วนหนี้สินต่อส่วนของเจ้าของน้อย จะทำให้กิจการมีโอกาสในการกู้ยืม้งินมากกว่าในกรณีฉุกเฉินนั่นเอง 

จะเห็นได้ว่าในการบริหารกิจการให้อยู่รอดและคงความเสี่ยงไว้ในปริมาณที่เหมาะสม การบริหาร  ส่วนของเจ้าของ ก็เป็นอีกส่วนที่สำคัญไม่แพ้ ทรัพย์สิน และ หนี้สิน ในงบแสดงฐานะทางการเงินนั่นเอง  


แหล่งที่มา : www.moneywecan.com

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้