Last updated: 28 พ.ย. 2562 | 2194 จำนวนผู้เข้าชม |
ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย
การหักภาษี ณ ที่จ่าย หรือที่เรียกเต็มๆ ว่า ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย เป็นมาตรการสำหรับเก็บภาษีล่วงหน้าบางส่วนตอนที่คุณรับเงิน ซึ่งโดยทั่วไปแม้จะถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายไปแล้ว ก็ไม่ได้หมายความว่าคุณไม่มีหน้าที่ต้องยื่นภาษีอีกต่อไปแล้ว เพราะยังไม่ถือว่าเป็นภาษีสุดท้าย
ทั้งนี้จ่ายเงินบางกรณีกฎหมายจะกำหนดให้คนที่จ่ายเงินมีทำหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่ายตอนที่คุณรับเงินด้วย แล้วค่อยนำเงินภาษีนั้นนำส่งกรมสรรพากรอีกที ในขณะที่จ่ายเงินบางกรณีบางกรณีกฎหมายก็ไม่ได้กำหนดหน้าที่ให้คนจ่ายเงินต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับตัวบุคคลและเภทของเงินที่จ่าย
อย่างไรก็ดี ผู้รับเงินจะได้รับ หนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย (ใบ 50 ทวี) เพื่อเป็นหลักฐานสำหรับการเสียภาษี
หักภาษี ณ ที่จ่ายไปทำไม ?
การหักภาษี ณ ที่จ่ายเป็นการทยอยจ่ายภาษีล่วงหน้า ซึ่งจะช่วยให้คุณไม่ต้องรับภาระภาษีเป็นเงินก้อนพอถึงเวลายื่นภาษีจริง ๆ เพราะมีการจ่ายภาษีล่วงหน้าไปบางส่วนแล้ว จึงเป็นเครดิตสำหรับคำนวณภาษีได้
แต่ในกรณีที่คุณถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายเกินกว่าภาระที่คุณต้องจ่ายจริง เช่น คุณมีภาระต้องจ่ายภาษีตอนยื่นภาษี 5,000 บาท แต่ถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายตอนรับเงินไป 6,000 บาท แสดงว่าคุณจ่ายภาษีเกินไป 1,000 บาท แบบนี้คุณมีสิทธิขอเงินคืนภาษี 1,000 บาท ที่จ่ายไปได้ แต่ต้องรีบยื่นภาษีขอคืนภายใน 3 ปี นับจากวันสุดท้ายที่ครบกำหนดยื่นภาษี
อีกเหตุผลของการหักภาษี ณ ที่จ่ายคือ เป็นการการันตีให้ภาครัฐว่าจะเก็บภาษีจากประชาชนได้แน่นอนเพราะหักภาษีทันทีขณะที่คุณมีเงินจ่าย
ภาษีหัก ณ ที่จ่ายกรณีจ่ายเงินเดือนพนักงาน
ในกรณีที่ต้องจ่ายค่าจ้างในรูปของเงินเดือน ให้พนักงาน จะใช้วิธีคำนวณภาษีหัก ณ ที่จ่ายแต่ละเดือนโดยให้คำนวณของพนักงานแต่ละคนที่น่าจะเกิดขึ้นตลอดทั้งปีโดยคำนวณจากเงินเดือนที่จะได้รับทั้งปี รวมถึงค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อนที่แจ้งว่าจะใช้สิทธิ์ตลอดปี เมือได้ค่าภาษีแล้ว จึงค่อยนำมาหารเฉลี่ยตามจำนวนที่จ่าย
ค่าภาษีที่คำนวณได้ / จำนวนงวด = ภาษีหัก ณ ที่จ่าย
เช่น คำนวณค่าภาษีทั้งปีแล้วได้ 12,000 บาท โดยจ่ายเงินเป็นรายเดือน ดังนั้น ตลอดทั้งปีจึงมีการจ่ายเงินเดือน 12 งวด ทำให้ทุกๆ เกือนต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย เดือนละ 1,000 บาท เป็นต้น
Cr.itax
29 มิ.ย. 2567
1 ก.ค. 2567
1 ส.ค. 2567