Last updated: 7 ม.ค. 2563 | 2482 จำนวนผู้เข้าชม |
การขออนุญาตใช้เครื่องบันทึกการเก็บเงิน
หากว่าร้านของคุณไม่มีการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มหรือไปจดภาษีมูลค่าเอาไว้ ก็ไม่ต้องกังวลไปว่าจะต้องไปเสียเวลาจดทะเบียนใด ๆ กับกรมสรรพากร แต่ถ้าหากคุณเป็นผู้ค้าที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มเอาไว้ ก็จำเป็นต้องจดทะเบียนเครื่อง POS เพื่อที่จะได้ออกใบกำกับภาษีให้กับลูกค้าได้อย่างถูกต้อง
อีกทั้งยังเป็นการเอื้อความสะดวกให้กับร้านที่ขายดีเป็นเทน้ำเทท่าด้วยเช่นกัน เพราะหลังจากที่จดทะเบียนเครื่อง POS หรือเครื่องคิดเงินแล้ว คุณจะใช้เครื่องนี้ออกใบกำกับภาษีอย่างย่อให้กับลูกค้าได้โดยทันที แต่ก่อนที่เราจะออกใบกำกับภาษีให้กับผู้ซื้อได้นั้น ก็ต้องเตรียมตัวขึ้นทะเบียนกับกรมสรรพากรตามนี้ซะก่อน
1. เลือกตำแหน่งการวางเครื่องให้ตรงกับความจริง
เมื่อได้เครื่องมาแล้ว ให้วางเครื่อง POS คิดเงินไว้ตรงตำแหน่งที่เราต้องการจะวางจริงๆ เพราะจะต้องแสดงแผนผังการวางเครื่องคิดเงินและผังการเชื่อมต่อตัวอุปกรณ์ให้กรมสรรพากรได้เห็นด้วย
2. เอกสารที่ต้องใช้
- เอกสารแบบ ภ.พ. 06
- แบบแสดงคุณสมบัติของเครื่อง POS คิดเงิน
- แผนผังการเชื่อมต่อระหว่างเครื่องคิดเงินกับอุปกรณ์ต่างๆ
- ตัวอย่างใบกำกับภาษีและข้อมูลต่างๆ ที่ปริ้นท์โดยเครื่องคิดเงิน โดยให้พิมพ์ออกมาจากตัวเครื่อง
- ของร้านเราเลย และในช่วงที่รออนุมัติ ต้องหยุดใช้เครื่องไปก่อน พอได้รับการอนุมัติ ถึงจะใช้ได้อีกครั้ง
- แผนผังแสดงการเชื่อมต่อเน็ตเวิร์ค
- แผนผังการวางเครื่องคิดเงินในร้าน
- ข้อมูลระบบรักษาความปลอดภัย
3. ยื่นเอกสารกับกรมสรรพากรในพื้นที่ที่ก่อตั้งกิจการ
หากว่าใครสะดวกไปยื่นต่อเจ้าหน้าที่ด้วยตัวเอง ก็ให้ยื่นจดทะเบียนเครื่อง POS คิดเงินกับกรมสรรพากรสังกัดพื้นที่ของร้านเราได้เลย แต่ถ้าหากว่าร้านของเรามีหลายสาขาก็ให้เราไปยื่นคำขออนุมัติที่สำนักงานสรรพากรพื้นที่สำนักงานใหญ่แทน ถ้าหากว่าไม่สะดวกก็ไม่ต้องกังวลไป สมัยนี้กรมสรรพากรก็อำนวยความสะดวกประชาชนมากขึ้นแล้วด้วยการเปิดช่องทางให้ยื่นผ่านทางออนไลน์กันได้ทางหน้าเว็บ http://www.rd.go.th/publish/26216.0.html กันได้เลย
4. กรอกข้อมูลในแบบฟอร์มให้ครบถ้วน
- ชื่อผู้ประกอบการ ให้ใส่ชื่อบริษัทหรือชื่อบุคคลที่จดทะเบียนและได้รับเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรมาเรียบร้อยแล้ว
- ชื่อสถานประกอบการ นั่นก็คือชื่อร้านหรือชื่อกิจการของเรานั่นเอง
- ข้อมูลที่อยู่ ให้ใส่ข้อมูลที่จัดตั้งบริษัทของเราให้ครบถ้วน (สำนักงานใหญ่)
- จดทะเบียน ก.พ. 20 เมื่อใด ระบุวันที่เราได้จดทะเบียน ก.พ. 20 ลงไปด้วย
- กรอกชื่อรายการประเภทสินค้า ในส่วนนี้เราต้องระบุประเภทของสินค้าหรือรายการอาหารที่เราจะขายเป็นส่วนใหญ่ลงไป
- เลือกประเภทของกิจการ ต่อมาเราต้องระบุลงไปให้ชัดเจนว่ากิจการของเราเป็นกลุ่มประเภทไหน
- กรอกข้อมูลที่อยู่ของสำนักงานหรือสาขาที่ต้องการจดทะเบียนเครื่อง POS โดยการระบุที่อยู่ลงไปให้ชัดเจน ในกรณีที่สรรพากรจะเดินทางมาตรวจสอบและแปะสติกเกอร์ให้
- ชนิดของเครื่องบันทึกการเก็บเงิน ให้ติ๊กเครื่องหมายถูกที่ชนิดคอมพิวเตอร์และใส่จำนวน Ipad ที่ต้องการให้ออกใบกำกับภาษีได้ด้วย
5. รอผลอนุมัติ
เมื่อกรอกข้อมูลและยื่นเอกสารครบถ้วนเสร็จสมบูรณ์แล้ว กรมสรรพากรจะทำการพิจารณาเอกสารของเราทั้งหมดและคุณสมบัติของเครื่องคิดเงิน POS ที่ต้องการจดทะเบียน เมื่อผ่านการอนุมัติ เค้าจะส่งผลและเลขรหัสประจำเครื่องมาให้เรา 1 เครื่องต่อ 1 รหัส แต่ถ้าเรามีหลายสาขาก็เท่ากับว่าต้องจดทะเบียนเครื่อง POS หลายเครื่อง เราจึงจำเป็นที่จะต้องส่งคำร้องขอคำอนุมัติไปตามจำนวนเครื่องที่เรามี
การจดทะเบียนเครื่อง POS ใช้เวลาทำการประมาณ 30-45 วัน ดังนั้น เจ้าของกิจการต้องมีการวางแผนยื่นต่อกรมสรรพากรล่วงหน้าเพื่อที่จะออกใบกำกับภาษีให้กับลูกค้าได้อย่างทันเวลา เท่านี้ก็จดทะเบียนเครื่อง POS และใช้งานได้ตามแผนที่วางไว้แล้ว !
6. ติดตั้งเลขรหัสบนตัวเครื่อง
เมื่อเสร็จสิ้นการจดทะเบียนเครื่อง POS กรมสรรพากรจะส่งรหัสมาให้เราแล้วปุ๊ป ให้เรานำเลขไปใส่ตามจุดของเอกสารใบกำกับภาษีหรือรายงานตามที่สรรพากรเป็นผู้กำหนด
7. ติดต่อไปที่กรมสรรพากร
เกือบจะเสร็จสิ้นขั้นตอนแล้ว หลังจากนั้นเราต้องติดต่อไปที่กรมสรรพากร เพื่อขอให้เจ้าหน้าที่ของกรมมาติดแถบสติกเกอร์ที่เครื่อง POS คิดเงินของเรา ถึงจะเป็นการเสร็จสิ้นกระบวนความ
เมื่อธุรกิจของเรากำลังไปได้สวยและกำลังจะทำการขยายสาขา ยิ่งจำเป็นที่จะนำระบบ POS คิดเงิน มาช่วยงานร้านค้า แต่ต้องไม่ลืมนำไปขึ้นทะเบียนกับกรมสรรพากรเด็ดขาด !
เพราะถ้าหากลูกค้าเรียกขอใบกำกับภาษีจากร้านของเราแต่ปรากฎว่า ตายแล้ว ! ยังไม่ได้ขึ้นทะเบียนเลย ก็จะทำให้เราไม่สามารถออกใบกำกับภาษีให้กับลูกค้าได้ เพราะมันผิดกฎหมายขั้นรุนแรง ทั้งยังทำให้ร้านเสียเครดิตไปโดยปริยายอีกด้วย
ดังนั้น มาเตรียมตัวให้พร้อมด้วยการจดทะเบียนเครื่อง POS เมื่อเปิดร้านกันเถอะ !
29 มิ.ย. 2567
1 ก.ค. 2567
1 ส.ค. 2567